fbpx

บทความ

8 ปัญหาเพลาลอย ที่คนใช้รถกระบะควรจะต้องรู้

เพลาลอยมีการนำมาติดตั้งใช้กับรถบรรทุกแบบ 4 ล้อหรือรถกระบะมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เพราะสามารถที่จะทำให้รถกระบะสามารถที่จะบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังทำให้รถกระบะที่ต้องบรรทุกสิ่งของสามารถที่จะรักษาสมดุลทรงตัวในการขับขี่ได้ดีขึ้นและรับแรงกระแทกจากการขับขี่ได้ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ดีแม้เพลาลอยจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีประเด็นสำคัญที่คนที่มีรถกระบะติดตั้งเพลาลอยควรจะต้องรู้ ซึ่งเรารวบรวมออกมาเป็น 8 ประเด็น จะมีเรื่องใดบ้างที่ควรจะต้องรู้ไปติดตามกันได้เลย

  1. รถกระบะติดตั้งเพลาลอยควรดูแลเรื่องอะไรบ้าง
    หลายคนนำรถกระบะไปติดตั้งเพลาลอยเรียบร้อย พอใช้งานไปสักระยะก็พบปัญหาลูกปืนแตก น็อตล้อขาด เฟืองท้ายมีเสียงดัง ปัญหาแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นทีละอย่างหรือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ได้ ซึ่งจะขอแยกเป็น 3 กรณี คือ

    • ลูกปืนแตก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบหล่อลื่น คือ จาระบีอาจเสื่อมสภาพทำให้การหล่อลื่นมีปัญหา วิธีป้องกันปัญหานี้ก็คือให้หมั่นตรวจสภาพจาระบี และควรเปลี่ยนทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร
    • น็อตล้อขาด เมื่อรถกระบะต้องบรรทุกหนักจึงต้องมีการเปลี่ยนยางและเปลี่ยนล้อรถเร็วกว่ารถยนต์ธรรมดาทั่วไป คือ ทุก ๆ 20,000 กิโลเมตรก็ต้องเปลี่ยนแล้ว เมื่อต้องเปลี่ยนล้อยางบ่อย ๆ จึงทำให้น็อตล้อนั้นเสื่อมสภาพเร็วและขาดได้ง่าย วิธีป้องกันก็คือ ให้เปลี่ยนน็อตล้อใหม่ทั้ง 6 ตัวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนล้อ
    • เฟืองท้ายมีเสียงดัง เป็นปัญหาที่เกิดจากน้ำมันเฟืองท้ายเสื่อมสภาพหรือใช้น้ำมันผิดเบอร์ วิธีป้องกันก็คือ เลือกใช้น้ำมันเฟืองท้ายให้ถูกต้องและควรเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
  2. รถกระบะสายย่อติดตั้งเพลาลอยดีหรือไม่
    เจ้าของรถกระบะหลายคนเริ่มต้นอาจไม่ได้คิดจะใช้งานบรรทุกหนักอะไรจึงนำไปแต่งโหลดให้รถสวยงาม แต่เมื่อถึงเวลาต้องเอาไปใช้งานบรรทุกจึงคิดว่าควรจะต้องนำรถไปติดตั้งเพลาลอยเพิ่มเพื่อให้บรรทุกหนักได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะดีหรือไม่ จริง ๆ รถกระบะทุกแบบสามารถติดตั้งเพลาลอยได้ แต่ถ้าเป็นกระบะสายย่อก็แนะนำว่าไม่ควร เพราะรถกระบะที่โหลดเตี้ยนั้นแหนบจะแข็งตรง จึงทำให้ไม่สามารถรับแรงกระแทกเวลาบรรทุกหนักได้ หากฝืนติดตั้งไปก็จะทำให้เจอปัญหาเสื้อเพลาและลูกปืนแตกนั่นเอง
  3. รถเพลาลอยใส่ล้อแบบไหนถึงจะเหมาะ
    รถเพลาลอยควรใส่ล้อแบบกระทะ ขนาด 7 นิ้ว เพราะล้อแบบกระทะมีความแข็งแรงทนทานเหมาะกับรถที่ต้องการบรรทุกหนักอยู่แล้ว แต่ล้อกระทะจะมีข้อเสียในเรื่องของการระบายความร้อน ส่วนใครที่ต้องการใส่ล้อแม็กกับรถเพลาลอยก็สามารถใส่ได้เช่นกัน ขนาดที่เหมาะก็คือ 7. – 7.5 นิ้ว ในเรื่องความทนทานเหมาะกับการบรรทุกนั้นอาจจะสู้ล้อกระทะไม่ได้ และในเรื่องราคาก็สูงกว่าด้วย แต่ในเรื่องของการระบายความร้อนการลดแรงต้านในการหมุนของล้อแม็ก ก็จะทำได้ดีกว่า
  4. รถเพลาลอยติดตั้งแหนบอย่างไรถึงจะเหมาะสม
    ปกติแล้วรถกระบะจะบรรทุกน้ำหนักโดยเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4 – 6 ตัน เมื่อมีการนำมาติดตั้งเพลาลอยพร้อมกับเสริมแหนบจึงเกิดปัญหาว่า ไม่รู้จะติดตั้งแหนบขนาดไซส์ไหน และติดแหนบข้างละกี่แผ่นดี ในประเด็นนี้สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ แหนบของรถกระนั้นที่ใช้กันอยู่ก็จะมีอยู่ 2 ขนาด คือ ความหนา 12 มม. กับความหนา 16 มม.
    น้ำหนัก 4 – 6 ตัน หากเลือกความหนา12 มม. แนะนำให้ติดตั้งข้างละ 8 แผ่น
    น้ำหนัก 4 – 6 ตัน หากเลือกความหนา16 มม. แนะนำให้ติดตั้งข้างละ 6 แผ่น
  5. ตรวจสภาพเช็คระยะเพลาลอยควรทำเมื่อไหร่
    ถ้าเป็นรถติดตั้งเพลาลอยใหม่ ควรตรวจเช็คสภาพเมื่อครบ 1,000 กิโลเมตร การตรวจสภาพเพลาลอยก็จะมีการเช็คน็อตล้อ เช็คดุมล้อ เช็คสภาพเบรก และการตรวจสอบเฟืองท้ายร่วมด้วย ซึ่งกรณีที่เป็นเพลาลอยใหม่ก็ควรจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายเมื่อครบ 1,000 กิโลเมตร เพื่อทิ้งเศษสิ่งสกปรกที่อาจปนน้ำในน้ำมันเฟืองท้ายออกไป หลังจากนั้นก็ให้เปลี่ยนถ่ายทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
  6. การปรับตั้งเบรกสำหรับรถเพลาลอยควรทำเมื่อไหร่
    สำหรับรถเพลาลอยควรมีการนำไปปรับตั้งเบรกทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร เนื่องจากเมื่อมีการใช้รถไปนาน ๆ จากการที่รถต้องรับน้ำหนักบรรทุกมาก ก็จะทำให้ผ้าเบรกและจานเบรกสึกเร็วขึ้น เบรกจะห่าง ทำให้เบรกจมเวลาเหยียบ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการนำมาตั้งค่าใหม่ หลักการจำง่าย ๆ ก็คือ เมื่อนำรถไปเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายก็ให้ตั้งเบรกไปพร้อม ๆ กันเลยนั่นเอง
  7. ขับขี่อย่างไรไม่ให้เพลาข้างพังเร็ว
    รถเพลาลอยจะพบปัญหาเพลาข้างขาดบ่อย ซึ่งการที่เพลาข้างขาดนั้นก็มาจากลูกปืนล้อหลวม ทำให้เพลาข้างต้องเสียดสีเวลาขับขี่ และถ้าเป็นรถเพลาลอยที่เป็นรถบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรก็จะพบปัญหาเรื่องเฟืองรูดเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งวิธีขับขี่ที่ช่วยให้เพลาข้างไม่เสียหายเร็วก็คือ อย่าออกตัวแรง ให้ขับช้า ๆ เวลาออกตัวใช้เกียร์ 1 เท่านั้น เท่านี้ก็ช่วยยืดอายุเพลาข้างได้แล้ว
  8. การติดตั้งเพลาลอยกับการย้ายแหนบ เมื่อไหร่ที่ควรย้าย
    คนที่มีรถ 4WD ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาสงสัยว่า ถ้าต้องการที่จะติดตั้งเพลาลอยจะย้ายแหนบอย่างไรดี ก็แนะนำแบบนี้กรณีที่รถไม่ได้มีการเสริมแหนบเพิ่ม หรือเสริมมาแต่ไม่ได้หนา ก็ไม่จำเป็นต้องย้ายแหนบ สามารถติดตั้งเพลาลอยได้เลย แหนบจะอยู่ตรงหลังเพลาซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าในกรณีที่รถเสริมแหนบมาและแหนบค่อนข้างหนา แบบนี้ก็ควรมีการย้ายแหนบจากด้านบนลงด้านล่างเพื่อไม่ให้ท้ายรถสูงเกินไป
    ทั้งหมดนี้คือ 8 ประเด็นสำคัญที่คนมีรถกระบะติดตั้งเพลาลอยควรจะต้องรู้เอาไว้ จะได้ใช้รถและดูแลเพลาลอยที่ติดตั้งมาได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี อันจะช่วยให้การขับขี่และการบรรทุกเป็นไปอย่างราบรื่น หวังว่าคงจะเป็นสาระที่มีประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย

บทความที่คุณอาจสนใจ

ชุดเพาเวออร์

ก่อนติดตั้งชุดเพาเวอร์ให้รถคุณ มารู้จักพวงมาลัยเพาเวอร์ให้มากขึ้นกันดีกว่า Short Description: ชุดเพา

Read More »
เพลาลอยใหม่

เทียบ เพลาลอยใหม่ กับสิ่งที่ เพลาธรรมดา ติดรถให้ไม่ได้ หลัก ๆ มีอะไรบ้าง ? 

สำหรับใครที่ยังลังเลว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยน เพลาลอยใหม่ ให้กับรถที่ใช้ทำมาหากินของคุณ ว่าควรจะเปล

Read More »